logo Yushi
YUSHI

เกี่ยวกับเรา

หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและเศษฐกิจของประเทศโดยอาศัยการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นสำคัญและเป็นยุคที่ชนชาติจีนจำนวนหนึ่ง เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยโดยอาศัยเพียงเสื่อผืน หมอนใบ เพื่อเข้ามาเสี่ยงโชคในกรุงเทพมหานคร ซึ่งหนึ่งในชาวจีนจำนวนนั้นก็คือ “ นายบุญเคี้ยง แซ่จึง “ เป็นชาวจีนที่เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรในประเทศไทยโดยเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามา และเริ่มต้นอาชีพอย่างการใช้แรงงาน และเป็นกรรมกรในย่านเยาวราชและหัวลำโพง มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานหลากหลายอาชีพ แต่ส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานเพื่อแลกเงินทั้งสิ้น เนื่องจากไม่มีความรู้ และข้อจำกัดทางด้านภาษานั่นเอง แต่หนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตและอาชีพของชายชาวจีนผู้นี้ก็คือการได้มีโอกาสเปิดร้านซ่อมมอเตอร์ (Induction Motor) ซึ่งทำอยู่ในห้องแถวเล็กๆ และมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด แต่ด้วยความมี DNA ของนักสู้ นักคิดและเทคนิคความช่างสังเกตแบบครูพักลักจำ ได้สั่งสมความชำนาญดังกล่าว แล้วขยายผลไปสู่ การซ่อม ขาย และผลิตมอเตอร์ด้วยตนเองในที่สุด หลังจากนั้นจึงก่อตั้งบริษัท น่ำแซ มอเตอร์ จำกัด ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยเป็นผู้ผลิตมอเตอร์เจ้าแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

โรงงานน่ำแซ มอเตอร์ พ.ศ.2495 นายบุญเคี้ยง แซ่จึง

ปูเส้นทางสู่สายธุรกิจอย่างมั่นคง จากกรรมกรก่อสร้างสู่ประธานบริษัทผลิตมอเตอร์อุตสาหกรรมรายแรกของเมืองไทยจนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการผู้ผลิตมอเตอร์อุตสาหกรรมในสมัยนั้น ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา กลุ่มน่ำแซสามารถขยายธุรกิจของตนเอง และสามารถเปิดโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตพัดลมไฟฟ้า (Industrial Fan) , เครื่องเป่าลมอุตสาหกรรม (Blower) และอื่นๆ ในเวลาต่อมาบริษัทได้ขยายตัวมากมาย จนสามารถก่อตั้งบริษัทเครือข่ายเพื่อสนับสนุนธุรกิจกันได้อีกหลายธุรกิจในนาม “ น่ำแซ กรุ๊ป “ ในอีก 30 ปีให้หลัง

ยุทธ จึงสวนันทน์
CEO of YUSHI GROUP

สำหรับกลุ่ม YUSHI GROUP ถือเป็น Generation 3 ภายใต้การนำของ “ ยุทธ จึงสวนันทน์ “ บุตรชายคนโตของตระกูลจึงสวนันทน์ ที่มี ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้มีความสามารถทัดเทียมชาติ อารยะ โดยต้องการพาเกษตรกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก โดยปณิธานดังกล่าวเริ่มต้นด้วย ความสนใจศึกษาทางด้าน Information System Management โดยได้มีโอกาสได้รับการศึกษา และจบการศึกษาจาก Takushoku University , Tokyo ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มต้นเส้นทางสายอาชีพโดยเข้าทำงานที่ บริษัท มิกิ มู่เลย์ (Miki Pulley,.Co.Jp) เป็นแห่งแรก ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำยักษ์ใหญ่ทางด้านการผลิตระบบส่งผ่านกำลัง เบรคอุตสาหกรรมและการผลิตคลัปปลิ้ง (Transmission) เพื่อสั่งสมประสบการณ์ทำงานในฐานะลูกจ้างเพื่อให้สามารถเรียนรู้มุมมอง สร้างความเข้าใจต่างๆ และสามารถเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานของประเทศชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรมของโลกอย่างประเทศญี่ปุ่น อยู่เป็นเวลา 8 ปี หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมายังประเทศไทย

MIKI PULLEY Factory in Japan

โดยกลับเข้ามาอยู่ในส่วนของโรงงานผลิตมอเตอร์และเครื่องเป่าลมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานดั้งเดิมของตระกูล และได้ทำการศึกษางานจนเชี่ยวชาญด้านธุรกิจที่ได้เรียนรู้มา และสังเกตุเห็นว่าบริษัทไม่มีคนที่เป็นคนเก่าแก่ที่สามารถอยู่กับบริษัทได้เลย ต่างจากวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่นที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่จะอยู่ในองค์กรตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานจนเกษียณอายุแบบ “ Life Time Employee” และเมื่อมองเห็นปัญหาจุดนี้ซึ่งเป็นทางตันขององค์กรและบริษัทในประเทศไทย ที่ไม่สามารถทำให้บริษัทหรือองค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน อันเนื่องมาจากการไม่สามารถทำให้คนที่มีความรู้ ความสามารถอยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน จึงตัดสินใจก้าวสำคัญอีกครั้งด้วยการไปเรียนต่อในต่างประเทศในระดับปริญญาโทด้าน MBA จาก University of Washington และ Seattle University, เพื่อศึกษาด้านการบริหารโดยเฉพาะ โดยสาขาที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือสาขา Entrepreneurship โดยเป็นการเรียนรู้วิธีการวางแผนธุรกิจในแขนงต่างๆ ให้มีความสำเร็จลุล่วง จากการศึกษา case study มากมายในหลายธุรกิจ ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว โดยเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่สามารถเรียนและสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาแขนงนี้ในเวลานั้น

University of Washington in Seattle

หลังจากจบการศึกษา จึงเดินหน้าสายธุรกิจของตนเองโดย การนำประสบการณ์ทั้งหมด ทั้งจากชีวิตการศึกษา การทำงานในประเทศญี่ปุ่นและการทำงานในประเทศไทยมาหลอมรวมจนตกผลึกทางความคิด หลังจากนั้นจึงนำหลักคิดดังกล่าวมาวางแผนดำเนินธุรกิจ โดยหนึ่งนโยบายสำคัญคือการเปิดโอกาสเจ้าหน้าที่ในทุกระดับสามารถเติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน แข็งแกร่ง นำมาสู่การเติบโตสู่การเป็นเจ้าของกิจการร่วม เพื่อแก้ปัญหาพนักงานลาออก และพนักงานระดับมันสมองอยู่กับองค์กรได้ไม่นานโดยเริ่มต้นเส้นทางและแนวคิดการสร้างนโยบาย และกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตและขยายตัวให้ต่อเนื่องโดยสร้างพื้นฐาน Supply Chain ทางด้านอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของต้นตระกูล มาดำเนินนโยบาย M&A เพื่อขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจแขนงอื่น โดยเฉพาะภาคการเกษตร ดังภาพโครงสร้างด้านล่างที่ คุณยุทธ จึงสวนันทน์ ได้ออกแบบไว้

เริ่มต้นการสร้าง Supply Chain ทางด้านอุตสาหกรรมจากการก่อตั้งบริษัท น่ำแซ มิลเลนเนียม จำกัด ในปี 2540 โดยการขอเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อนำมาจำหน่ายในประเทศไทยในหมวดของชิ้นส่วนอุตสาหกรรม (Machinery Components) ตามมาด้วยสินค้าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา จนธุรกิจค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องจากกลยุทธ์การทำธุรกิจ โดยใช้ต้นทุนที่จำกัดมากในช่วงเริ่มต้น จากนั้นเมื่อธุรกิจสามารถดำเนินไปด้วยดี จึงทำการขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยการเปิด บริษัท ไอดี มาร์ท จำกัด เป็นบริษัทที่สอง ด้วยแนวคิดที่ว่าต้องการให้ลูกค้าสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการทางด้านอุตสาหกรรมภายใต้ Concept “ One Stop Service “

ในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งบริษัท ไอดี มาร์ท นี้เองเป็นบริษัทที่เป็นกลไกหลักในการค้นหาความต้องการทางด้านอุตสาหกรรมในโรงงานเพื่อการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรม (Demand) จากกระบวนการและกลยุทธ์ดังกล่าวจึงสามารถเห็นปัญหาสำคัญต่างต่างอีกหลายประการของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งสะสมประสบการณ์ และเทคนิคทางด้านการผลิตสินค้าในหลายแขนงเพื่อสะสมเป็นข้อมูลเพื่อนำมาขยายธุรกิจในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ต้องมีโรงงานผลิตเป็นหลัก จากนั้นก็ยังสะสมสินค้าเพื่อเป็นฐานให้กับ Supply Chain เพิ่มขึ้น จึงได้ก่อตั้งบริษัท น่ำแซ เวนติเลเตอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อนำเข้าสินค้าพัดลมอุตสาหกรรมประหยัดพลังงานและดำเนินธุรกิจด้านการระบายอากาศโดยอาศัยนวัตกรรมการประหยัดพลังงานมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง 3 บริษัทดังกล่าวจึงเป็นแกนหลัก (Key of Success) ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มน่ำแซ กรุ๊ป ภายใต้การนำของผู้นำในรุ่นที่ 3 แบบ “ ยุทธ จึงสวนันทน์ ” นับแต่นั้น และเป็นพื้นฐานให้กับบริษัทในกลุ่ม YUSHI ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นธุรกิจในกลุ่มน่ำแซ กรุ๊ป เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเนื่องจากการปรับโครงสร้างของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและขยายงานของกลุ่มบริษัท

โดยการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และนโยบายใหม่หลายประการโดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ คือการเปลี่ยนชื่อคำนำหน้าบริษัทจาก น่ำแซ ซึ่งเป็นต้นกำเนิด เป็น “ YUSHI “ เพื่อให้สามารถแยกตัวออกจากกลุ่มธุรกิจเก่าของตระกูลได้อย่างชัดเจน และเดินหน้าสร้างความสำเร็จด้วยตนเอง โดยคำว่า “ YUSHI “ นั้นแปลว่า “ดีเลิศ” ในภาษาญี่ปุ่น อันสืบเนื่องมาจากการได้รับการบ่มเพาะวัฒนธรรมของชาวอาทิตย์อุทัยมาตั้งแต่ครั้งยังศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ต่อจากนั้นจึงเริ่มการขยายธุรกิจอีกขนานใหญ่ และได้ทำการก่อตั้งบริษัทที่สามารถทำการรับเหมาติดตั้งงานระบบต่างๆ ให้กับบริษัทภายในกลุ่มของตนเองโดยเป็นการดำเนินนโยบายด้านการพึ่งพาตนเอง และการนำนวัตกรรมต่างๆ

เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมของบริษัทและส่งเสริมการผลิตสินค้าโดยระบบออโตเมติก (Automation) มากยิ่งขึ้นโดยอาศัยหลักการ “ Engineering Supply Chain “ เข้ามาสนับสนุนธุรกิจให้สอดคล้องซึ่งกันและกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต บวกการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ (Finished good) เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับเป้าหมายใหญ่สุด นั่นก็คือการผลิตสินค้าภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อรักษาคุณภาพและมีต้นทุนภาคการผลิตต่ำในอนาคตได้ต่อเนื่องด้วยการขยายธุรกิจออกมาอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 17 ปี จนสามารถแตกแขนงธุรกิจได้อย่างมากมาย โดยในทุกธุรกิจภายใต้กลุ่มของ YUSHI จะเน้นเรื่องนวัตกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จ

เริ่มต้นปี 2018 นโยบายการดำเนินธุรกิจและพื้นฐานทางธุรกิจที่วางไว้อย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและยาวนาน YUSHI GROUP ได้ดำเนินนโยบายมาถึงการควบรวมกิจการและการซื้อกิจการ หรือศัพท์ทางธุรกิจคือ “ M&A “ (Mergers and Acquisitions)โดยการควบรวมกิจการและเฟ้นหาพันธมิตรศักยภาพเพื่อร่วมมือในการดำเนินธุรกิจและเสริมความแข็งแกร่งระหว่างกัน และมีเป้าหมายให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จากกระบวนการดังกล่าว ทำให้กลุ่ม YUSHI สามารถเปิดตัวธุรกิจทางด้านการผลิตสินค้าได้อย่างมากมาย อาทิ กลุ่มสินค้าเพื่อการอหังสาริมทรัพย์ , พัฒนาสินค้าด้านการเกษตรในโรงเรือน , การผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และการสร้างบริษัทขนส่งของตนเอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของกลุ่ม “ YUSHI “ ยังจะคงเดินหน้าขยายธุรกิจนำไปสู่ภาคเกษตรกรรมในอนาคตอย่างต่อเนื่องด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่างๆ ตามปณิธานและความมุ่งมั่นดั้งเดิมที่ทำการก่อตั้งกลุ่มบริษัทขึ้น เพื่อที่จะนำความรู้และเทคโนโลยีไปสู่ภาคการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศอย่างแท้จริง

เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถในการรับรู้เทคโนโลยีการผลิตในภาคการเกษตรรูปแบบใหม่ มีรายได้ที่ยั่งยืน อนึ่งกลุ่มบริษัทมีนโยบายที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งนั่นคือการเติบโตไปพร้อมกัน หรือ “ Growth Together “ และซึ่งนโยบายดังกล่าวจะนำมาซึ่งรายได้ ความมั่นคงและยั่งยืนทางระบบเศษรฐกิจในระดับฐานรากอย่างถาวร เพื่อตอบแทนแผ่นดินเกิดคือประเทศไทยอีกทั้งเป็นการสนับสนุนนโนบายของรัฐบาลคือไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) และสนองพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ ๙ อันเป็นที่รักยิ่ง ในเรื่องของการพึ่งพาตนเองและเศรษฐกิจพอเพียง Yushi Group มีความมุ่งมั่นและจะดำเนินสิ่งเหล่านี้ต่อไปเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศประเทศอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

เราเติบโต
อย่างไม่ทีที่สิ้นสุด

พันธกิจ

สร้างคนของเรา
ให้มีอนาคต ที่ดีกว่า

แผนการดำเนินธุรกิจ

Machinery Parts

Yushi Group เริ่มต้นด้วยการนำเข้าสินค้า เกี่ยวกับส่วนประกอบเครื่องจักร (Components) และรวบรวมสินค้า และผลิตภัณฑ์หลากหลายที่เป็นหัวใจสำคัญ ของเครื่องจักรเข้ามาไว้รวมกัน โดยได้รับการ แต่งตั้งจากแบรนด์สินค้าชั้นนำในต่างประเทศ ในรูปแบบ Exclusive Agent อันเป็นรากฐาน ในการสร้างระบบ Supply Chain

Factory Systems

สร้างทีมและระบบติดตั้งงานสำหรับโรงงาน อุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน เป็นสำคัญ โดยการนำสินค้าและบริการใน Stage1 มาใช้ สนับสนุนการทำงานระหว่างบริษัทในเครือ และลูกค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถเกิด ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในการติดตั้ง งาน และสามารถออกแบบ ติดตั้งและบริการ หลังการขายได้อย่างสมบูรณ์

Machineries

นำเข้าและผลิตเครื่องจักรเข้ามาจัดจำหน่าย เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยนำระบบ ออโตเมชั่นเข้ามาสนับสนุนการทำงานทั้งในด้าน การลดแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความเร็วความแม่นยำในการผลิต และการแก้ ปัญหาอื่น ๆ ให้กับลูกค้าโดยทีมงานที่สามารถ ให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม และเครื่องจักร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

M&A under New Technology
& New Innovation Structure

“ M&A “ (Mergers And Acquisitions) ในธุรกิจ ที่ไม่มีเทคโนโลยีสูงแต่สินค้าที่จำเป็นและมีความ ต้องการสูง นั่นรวมถึงสินค้าภาคการเกษตรซึ่ง เป็นพื้นฐานหลักของประเทศไทยด้วย โดยกลุ่ม Yushi Group จะนำเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ เข้าไปพัฒนาระบบการจัดการ ตั้งแต่วิธีการทำงาน ของคน การพัฒนาเครื่องจักร และวิธีคิดทาง การตลาด ออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยใน Stage4 นี้ กลุ่มบริษัทสามารถดำเนินการ ทางธุรกิจได้ตั้งแต่ “ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ “ แบบครบวงจร เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถต่อยอด ออกไปอย่างยั่งยืนและไม่มีที่สิ้นสุด

ค่านิยมองค์กร

สร้างความสุขที่เต็มไปด้วยคุณค่าและความหมายในการทำงาน ด้วยหลัก อิคิไก (Ikigai) 4 ประการ

มองหาสิ่งที่ เราทำแล้วมีความสุขในการทำงาน
โดยองค์กรให้อิสระในการทำงาน

มองหาสิ่งที่ เราทำได้ดี หรือเชี่ยวชาญ
โดยให้พนักงานรู้จุดมุ่งหมาย
ของตนเอง

มองหาสิ่งที่ ทำแล้วจะเพิ่มคุณค่าให้กับงาน
ส่งเสริมให้เติบโตในองค์กร

มองหาสิ่งที่ ทำให้เป็นประโยชน์กับองค์กร
สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน
ให้น่าอยู่